Skip to content
CodingThailand's Blog
CodingThailand's Blog

by โค้ชเอก

  • Home
  • About Me
  • CodingThailand.com
CodingThailand's Blog

by โค้ชเอก

การเปลี่ยน port MySQL/MariaDB จาก 3306 เป็น port อื่น (XAMPP)

14/05/201614/05/2016

ถ้าใครใช้ XAMPP ในการจำลอง Server ถ้า Start MySQL แล้วมีปัญหา อาจเป็นไปได้ว่ามีการชนกันของ port ครับ หรือเราอยากทดลองใช้ MySQL เวอร์ชันใหม่ๆ แต่ไม่อยากลบ MySQL ตัวที่กำลังใช้งานอยู่ บทความนี้จะพาเราไปทำความรู้จักกับการเปลี่ยนหมายเลข port ของ MySQL กัน ลุยกันเลย!

 

1.ดับเบิ้ลคลิก XAMPP Control Panel ขึ้นมา จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Config (ของ MySQL) เลือกไฟล์ my.ini ครับ

2.เมื่อเปิดไฟล์ my.ini ขึ้นมาแล้วแก้ไขหมายเลข port ให้เป็นหมายเลขที่เราต้องการ (2จุด) จากนั้นให้บันทึกไฟล์นี้ แล้วปิดไปได้เลย

3.คลิกที่ปุ่ม Config (ของ Apache) เลือกเปิดไฟล์ php.ini ขึ้นมาเพื่อแก้ไขครับ

4.ให้ค้นหาคำว่า mysql.default_port ครับเมื่อเจอแล้ว ให้แก้หมายเลขจาก 3306 เป็นหมายเลข port ที่เราต้องการ และค้นหาคำว่า mysqli.default_port (มี i ต่อท้ายด้วยนะ) ให้แก้หมายเลขเป็นหมายเลข port ที่เราต้องการเช่นกัน จากนั้นให้บันทึกไฟล์แล้วปิดไปได้เลย

หมายเหตุ ในรูปมีเฉพาะ mysql.default_port นะครับ เลื่อนลงมานิดหน่อยจะเจอ mysqli.default_port

5.กดปุ่ม Start ทั้งในส่วนของ Apache และ MySQL ให้สังเกตหมายเลข port MySQL ครับว่าเปลี่ยนไปตามหมายเลขที่เราต้องการหรือเปล่า ถ้าทำครบทุกขั้นตอนก็จะเห็นว่าหมายเลข port ได้เปลี่ยนแล้ว

แต่เดี๋ยวก่อน เวลาเขียน PHP อย่าลืมใส่หมายเลข port ใหม่ในขั้นตอนการ connect ด้วยนะครับ โค้ดตามนี้เลย

//สำหรับ MySQLi connection เขียนแบบ procedural

$link = mysqli_connect('localhost', 'root', 'password', 'database_name',3307);

//สำหรับ MySQLi เขียนแบบ object-oriented

$link = new mysqli('localhost', 'root', 'password', 'database_name',3307);

แค่นี้ก็เรียบร้อย!

Views: 11595

XAMPP MariaDBMySQL

Post navigation

Previous post
Next post

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Posts ล่าสุด

  • การใช้งาน Prefetching ใน Next.js
  • 14 ข้อคิด เพื่อการเป็น Developer ที่ดีขึ้น จาก “Lee Robinson”
  • เคยเจอ “TypeError: Cannot read property ‘x’ of undefined” หรือเปล่า
  • บันทึกการเขียนเว็บไซต์ใหม่ในรอบ 10 ปี ย้ายมาใช้ Next.js
  • ทำไมการจัดการ Error ใน JavaScript ถึงเป็นเรื่องท้าทาย?

Recent Comments

    หมวดหมู่

    • .NET
    • AI
    • Android
    • Angular
    • Angular 2
    • Coding
    • CSS
    • Database
    • Editor
    • Flutter
    • Git
    • HTML5
    • Ionic 2
    • Ionic 4
    • Ionic Framwork
    • JavaScript
    • Laravel
    • Laravel 5
    • Next.js
    • Node.js
    • PHP
    • PHP 7
    • Plugins
    • React
    • React Native
    • Template
    • Tools
    • TypeScript
    • UI
    • Uncategorized
    • Vue.js
    • XAMPP
    • Yii
    • คอร์สเรียน
    • แรงบันดาลใจ

    Archives

    • July 2025
    • April 2025
    • November 2024
    • October 2024
    • April 2020
    • February 2020
    • August 2019
    • September 2018
    • August 2018
    • February 2018
    • November 2017
    • October 2017
    • August 2017
    • July 2017
    • April 2017
    • October 2016
    • August 2016
    • May 2016

    Tags

    .NET android Angular Angular 2 Atom Coding Coding Standard CSS CSS 3 Datepicker Express.js extensions Git HTML HTML5 Ionic2 JavaScript Laravel5 laravel 5.5 MariaDB Material Design MySQL Node.js npm PHP PHP7 plugins PouchDB recaptcha Restful sail.js template typescript typscript XAMPP Yii2

    ผู้เยี่ยมชม

    • 0
    • 1,818,149
    • 547,558
    • 11,595
    ©2025 CodingThailand's Blog | WordPress Theme by SuperbThemes