Skip to content
CodingThailand's Blog
CodingThailand's Blog

by โค้ชเอก

  • Home
  • About Me
  • CodingThailand.com
CodingThailand's Blog

by โค้ชเอก

4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ React Hooks

25/02/202025/02/2020

Hooks เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ React เวอร์ชัน 16.8 เพื่อให้เราสามารถใช้งาน state และเรียกใช้ features ต่างๆ ของ React ได้ โดยที่ไม่ต้องเขียนแบบ class component ยกตัวอย่าง เช่น เราสามารถใช้ useEffect แทน componentDidMount ได้ เป็นต้น

.
ส่วนคนที่เขียน React Native ก็เขียนได้เลยนะ แต่ต้องเป็นเวอร์ชัน 0.59 ขึ้นไปครับ

.
1. แนะนำให้เขียน React Hooks สำหรับโปรเจคใหม่เลย (ในหลักสูตรใหม่ที่ผมจะเปิดสอนจะพาเขียน Hooks เป็นหลักทั้งหมดครับ แต่จะพูดถึง class component ด้วยเช่นกัน) ถ้าโปรเจคเดิมใช้แบบ class component อยู่ก็ไม่ต้องตามแก้เป็น Hooks นะครับ ใช้ของเดิมได้เลย เพราะไม่มีแผนที่จะเอา class component ออกจาก React อยู่แล้ว

.
2. ทำไมเราต้องเปลี่ยนมาเขียน Hooks ด้วย เพราะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น

– ถ้า component เรามีขนาดใหญ่ จะทำให้การ refactor และ test โค้ดต่างๆเป็นไปได้ยาก

– แก้ปัญหาเรื่อง Logic หรือ Lifecycle ซ้ำๆ กันระหว่างแต่ละ Component

– และหากเราใช้ Pattern เช่นพวก HOC หรือ render props ที่มีความซับซ้อน จะยากมากๆ ต่อการ debug ครับ และที่สำคัญอีกอย่างคือ การเขียน Hooks ทำให้ขนาดไฟล์เราเล็กลงด้วยนะ

.
3. กฏของการเขียน Hooks มี 2 ข้อ ได้แก่ ให้เขียนและใช้ Hooks ที่ top level เท่านั้น อย่าเขียนใน loops, conditions หรือ nested functions และ ต้องเขียนเป็น function component ของ React เท่านั้นนะ ห้ามเขียนในฟังก์ชันของ javascript ปกติ ยกเว้นจะเขียน custom Hooks ครับ

.
4. สำหรับคนที่ใช้ React Router และ React Redux อยู่ ตอนนี้ก็รองรับ Hooks แล้วนะครับ และคนที่ใช้ GraphQL และ Apollo ก็เขียนได้แล้ว ลองเปลี่ยนมาเขียนได้เลยนะ

.
ใครสนใจศึกษา React Hooks ก็ตามไปดูได้นะ => https://reactjs.org/docs/hooks-intro.html

ไว้มีโอกาสจะมาเขียนให้อ่านกันอีกครับ

.
โค้ชเอก

Views: 5815

React

Post navigation

Previous post
Next post

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Posts ล่าสุด

  • การใช้งาน Prefetching ใน Next.js
  • 14 ข้อคิด เพื่อการเป็น Developer ที่ดีขึ้น จาก “Lee Robinson”
  • เคยเจอ “TypeError: Cannot read property ‘x’ of undefined” หรือเปล่า
  • บันทึกการเขียนเว็บไซต์ใหม่ในรอบ 10 ปี ย้ายมาใช้ Next.js
  • ทำไมการจัดการ Error ใน JavaScript ถึงเป็นเรื่องท้าทาย?

Recent Comments

    หมวดหมู่

    • .NET
    • AI
    • Android
    • Angular
    • Angular 2
    • Coding
    • CSS
    • Database
    • Editor
    • Flutter
    • Git
    • HTML5
    • Ionic 2
    • Ionic 4
    • Ionic Framwork
    • JavaScript
    • Laravel
    • Laravel 5
    • Next.js
    • Node.js
    • PHP
    • PHP 7
    • Plugins
    • React
    • React Native
    • Template
    • Tools
    • TypeScript
    • UI
    • Uncategorized
    • Vue.js
    • XAMPP
    • Yii
    • คอร์สเรียน
    • แรงบันดาลใจ

    Archives

    • July 2025
    • April 2025
    • November 2024
    • October 2024
    • April 2020
    • February 2020
    • August 2019
    • September 2018
    • August 2018
    • February 2018
    • November 2017
    • October 2017
    • August 2017
    • July 2017
    • April 2017
    • October 2016
    • August 2016
    • May 2016

    Tags

    .NET android Angular Angular 2 Atom Coding Coding Standard CSS CSS 3 Datepicker Express.js extensions Git HTML HTML5 Ionic2 JavaScript Laravel5 laravel 5.5 MariaDB Material Design MySQL Node.js npm PHP PHP7 plugins PouchDB recaptcha Restful sail.js template typescript typscript XAMPP Yii2

    ผู้เยี่ยมชม

    • 0
    • 1,818,181
    • 547,566
    • 5,815
    ©2025 CodingThailand's Blog | WordPress Theme by SuperbThemes